ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง มีที่มาอย่างไร

ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง เป็นหนึ่งในชื่อเรื่องวรรณกรรมชื่อดัง ที่ได้รับการยกย่องว่าให้เป็นวรรณกรรมดีเด่นมากที่สุดในประวัติวรรณกรรมไทยสมัยสุโขทัย จากประกาศของคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ซึ่งพระราชนิพนธ์ขึ้นโดย สมเด็จพระศรีสุริยมหาธรรมราชาธิราช (พญาลิไทย) พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา พุทธศักราช 1896 วรรณกรรมเรื่องนี้ เป็นการตีแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับทางด้านของปรัชญาแห่งศาสนาพุทธ

ซึ่งเขียนขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เอาไว้มากมายที่น่าสนใจ โดยอาศัยคัมภีร์ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 30 คัมภีร์ นับเป็นวิทยานิพนธ์ชิ้นแรกของไทย ที่ถูกเขียนขึ้นมาให้เป็นความเรียงด้วยถ้อยคำภาษาที่ประณีตงดงามด้วยลีลาการพรรณนา และเปรียบเทียบ การใช้ภาพพจน์ ภายในจะมีเนื้อความที่กล่าวถึง จักรวาลวิทยา ปรัชญา จริยศาสตร์ ชีววิทยา และความคิดความเชื่อทางพุทธศาสนา สิ่งเหล่านี้เป็นจุดที่แสดงให้เห็นแจ้ง ถึงวิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยที่เป็นกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ในช่วงแรกเริ่มการก่อตั้งราชอาณาจักรในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

โดยที่ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ท่านถือว่าเป็นบุคคลที่ทรงโปรดเกี่ยวกับเรื่องของวรรณกรรมต่างๆ เป็นอย่างมาก จึงรับสั่งให้สร้างสมุดภาพไตรภูมิขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2319 ให้สมเด็จพระสังฆราชทรงกำกับการเขียนให้ถูกต้องตรงตามพระบาลีโดยเคร่งครัดทุกประการ และจัดพระบาลีลงกำกับภาพไว้ให้เป็นที่เข้าใจโดยชัดแจ้ง ต่อมาพระมหาช่วย วัดปากน้ำ สมุทรปราการ (วัดกลางวรวิหาร) ได้จารใส่ใบลานขึ้นเมื่อเดือน 4 ปีจอ สัมฤทธิศกจุลศักราช 1140

ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนา ที่ภายในจะเป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของภูมิทั้ง 3 นั้นก็คือ กามภูมิ รูปภูมิ และ อรูปภูมิ เนื้อหาหลักจะเป็นการอธิบายถึงเรื่องของพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์นรก อสุรกาย และเทวดา ทุกสิ่งที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้อง สืบเนื่องกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ที่ตั้งเหล่านี้จะมีเขาพระสุเมรุเป็นเนื้อหาหลัก โดยที่เขาพระเมรุนั้น จะตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาลต่างๆ ซึ่งมีทิวเขา และทะเล ล้อมรอบเอาไว้อยู่ โดยที่ทิวเขาต่างๆ ก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น บุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัศน์ เมมินธร วินันตก และอัศกรรณ โดยที่จะมีเขารอบนอกสุด ที่มีชื่อเรียกว่า เขาสัตตบริภัณฑ์ ส่วนท้องทะเลที่รายล้อมอยู่ชั้นนอกนั้น จะมีความหนาขององค์ประกอบที่มากถึง 7 ชั้น ซึ่งเรียกว่า สีทันดร ถัดมาจากทิวเขาอัศกรรณ ก็จะออกมาเป็นมหาสมุทร อยู่ที่รอบทิศ อยู่รอบด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กเป็นตัวกั้นทะเลเอาไว้อีกชั้น ซึ่งเรียกว่า จักรวาล พ้นไปนอกนั้น ทั้งหมดก็จะล้วนเป็นนอกขอบจักรวาลทั้งหมด